แม้โบท็อกจะมีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งช่วยปรับรูปหน้า ลดริ้วรอย ยกกระชับผิว ลดขนาดรูขุมขน และอื่นๆ แต่บางคนอาจมีอาการดื้อโบท็อก และทำให้ได้ผลลัพธ์การฉีดโบท็อกไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจไม่เห็นผลเลย ในบทความนี้ Anna Clinic จะพาไปทำความรู้จักกับ “การดื้อโบท็อก” และแนวทางสังเกตอาการ พร้อมไขข้อสงสัยที่ว่า ดื้อโบท็อก แก้อย่างไร?
ดื้อโบท็อก คืออะไร?
การดื้อโบท็อก (Botox Resistance) คือ ภาวะระบบประสาท และกล้ามเนื้อไม่สามารถตอบสนองต่อโบท็อกได้ตามปกติ โดยสามารถแบ่งอาการดื้อโบท็อกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับที่ 1
ประสิทธิภาพการทำงานของโบท็อกลดลงเล็กน้อย เช่น การฉีดโบท็อกปริมาณเท่าเดิมไม่สามารถลดริ้วรอยได้เหมือนก่อน หรือมีริ้วรอยกลับมาเร็วกว่าปกติ
2. ระดับที่ 2
ประสิทธิภาพการทำงานของโบท็อกลดลงค่อนข้างมาก แต่ยังพอสังเกตเห็นได้บ้าง ซึ่งจำเป็นต้องใช้โบท็อกในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจน
3. ระดับที่ 3
ในระดับนี้จะไม่สามารถสังเกตเห็นประสิทธิภาพการทำงานของโบท็อกได้เลย แม้จะมีการเพิ่มปริมาณโบท็อกแล้ว
การดื้อโบท็อก เกิดจากอะไร?
การดื้อโบท็อกเกิดจากกระบวนการทำงานภายในร่างกาย 2 ระบบ ที่ผิดปกติ คือ
1. ระบบภูมิคุ้มกัน
ด้วยปัจจัยบางประการ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาเพื่อกำจัดโบท็อก ซึ่งปกติร่างกายของคนเราจะไม่สร้างแอนติบอดีขึ้นมากำจัดโบท็อก
2. ระบบเผาผลาญ
โบท็อกเป็นสารที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ระบบเผาผลาญของบางคนสามารถย่อยสลายโบท็อกได้เร็วกว่าคนทั่วไป
โดยกระบวนการทำงานของร่างกายทั้ง 2 ระบบ สามารถถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายนอก และภายในร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดอาการดื้อโบท็อกในที่สุด
กลุ่มเสี่ยงดื้อโบท็อก
การดื้อโบท็อกสามารถถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงดื้อโบท็อกสูง ได้แก่
1. ผู้ที่ฉีดโบท็อกในปริมาณมากเกินไป
การฉีดโบท็อกในปริมาณมากหรือถี่เกินไป (ควรเว้นระยะการฉีดโบท็อกอย่างน้อย 3 เดือน) สามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อกำจัดโบท็อก
2. ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองไว
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองไวมีแนวโน้มที่จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมา เพื่อกำจัดโบท็อกออกจากร่างกายได้ดีกว่าคนทั่วไป
3. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาบางชนิด
ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาบางชนิดมีแนวโน้มที่ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อกำจัดโบท็อกได้ดีกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ยากลุ่มโปรตีน
4. ผู้ที่มีพันธุกรรมดื้อโบท็อก
บางการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีพันธุกรรมบางชนิดมีแนวโน้มดื้อโบท็อกมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
5. ผู้ที่ฉีดโบท็อกปลอม หรือโบท็อกไม่มีคุณภาพ
โดยปกติโบท็อกแท้จะมีความบริสุทธิ์สูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ตรวจจับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ในกรณีของโบท็อกปลอม หรือโบท็อกไม่มีคุณภาพที่มีสารปนเปื้อนอยู่ในปริมาณมาก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมักตรวจจับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม และสร้างแอนติบอดีขึ้นมา
นอกจากนี้ ผู้ที่ฉีดโบท็อกกับหมอกระเป๋ายังถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากความไม่เชี่ยวชาญของผู้ฉีดอาจทำให้โบท็อกกระจายไปผิดที่ และไม่สามารถให้ผลลัพธ์ได้ตามที่ต้องการ ส่งผลให้ต้องเพิ่มปริมาณโบท็อก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการดื้อโบท็อก
ดื้อโบท็อก ดูยังไง?
อาการดื้อโบท็อกมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธี คือ
1. สังเกตอาการด้วยตนเอง
ขั้นตอนแรกให้สังเกตระยะเวลาออกฤทธิ์ของโบท็อก เช่น ฉีดโบท็อกปริมาณเท่าเดิม แต่ระยะเวลาออกฤทธิ์ของโบท็อกลดลงเหลือ 4 เดือน จากเดิมที่เคยอยู่ได้นาน 6 เดือน
ส่วนอีกข้อสังเกต คือ ผลลัพธ์ของโบท็อก เช่น ริ้วรอยจางลงได้น้อยกว่าที่เคย แม้จะฉีดโบท็อกปริมาณเท่าเดิม
2. ให้แพทย์วินิจฉัย
โดยวิธีวินิจฉัยอาการดื้อโบท็อกที่แพทย์มักนิยมใช้ คือ การฉีดโบท็อกไปยังริ้วรอยเพียงข้างเดียวของใบหน้า หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ แพทย์จะนัดเพื่อสังเกตว่า ริ้วรอยข้างที่ฉีดจางลงมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับริ้วรอยข้างที่ไม่ได้ฉีดโบท็อก
3. ส่งตรวจเลือด
การตรวจเลือดมี 2 แบบ คือ
ตรวจหาแนวโน้ม: การตรวจนี้ใช้เพื่อระบุแนวโน้มของการดื้อโบท็อก
ตรวจยืนยัน: การตรวจหาแอนติบอดี เพื่อยืนยันว่ามีอาการดื้อโบท็อกหรือไม่
หากเริ่มสังเกตว่า ตนเองอาจมีอาการดื้อโบท็อก แนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัย และหาแนวทางการแก้ไข
ดื้อโบท็อก ทำยังไง?
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอาการดื้อโบท็อกให้หายขาดได้อย่างถาวร แต่มีวิธีเบื้องต้นที่สามารถช่วยแก้ไขได้ คือ
1. งดฉีดโบท็อก
โดยทั่วไปแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้งดฉีดโบท็อกเป็นเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อรอให้ปริมาณแอนติบอดีค่อยๆ ลดลงจนสามารถกลับมาฉีดโบท็อกได้อีกครั้ง แต่ในบางกรณีอาจต้องงดฉีดนาน 3-10 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
2. ปรับเทคนิคการฉีดโบท็อก
ในบางกรณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาใช้โบท็อกในปริมาณที่เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนยี่ห้อโบท็อก เพราะผู้ที่มีอาการดื้อโบท็อกบางคนอาจยังสามารถตอบสนองต่อโบท็อกยี่ห้ออื่นได้อยู่
3. ฉีดร่วมกับฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์สามารถช่วยเสริมการทำงานของโบท็อกได้ โดยฟิลเลอร์จะเข้าไปเติมเต็มร่องผิว แก้ไขริ้วรอยร่องลึก และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
หากวิธีการเหล่านี้ไม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ใช้หัตถการด้านความงามอื่นๆ แทน เช่น การทำอัลเทอร่า ไฮฟู่ และอื่นๆ
วิธีป้องกันอาการดื้อโบท็อก
การจัดการกับอาการดื้อโบท็อกที่ดีที่สุด คือ การป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม โดยมีวิธีการ ดังนี้
1. ฉีดโบท็อกแท้
โบท็อกแท้ที่ผ่านการรับรองจากอย. มีความบริสุทธิ์สูง ปราศจากสารปนเปื้อนอันตราย สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสดื้อโบท็อก
2. ฉีดโบท็อกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถฉีดโบท็อกได้อย่างถูกวิธี และมีเทคนิคการฉีดที่เหมาะสม ซึ่งช่วยให้โบท็อกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสผิดพลาด และแนวโน้มในการแพ้โบท็อก
โดยสามารถเลือกฉีดโบท็อกอย่างปลอดภัยได้จากคลินิกเสริมความงามที่น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่าง Anna Clinic ที่ดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สะอาดและได้มาตรฐาน และใช้โบท็อกแท้ 100% ที่ได้รับการรับรองจากอย.
ฉีดโบท็อกอย่างมั่นใจ กับ Anna Clinic
แพทย์ประจำ Anna Clinic คือ ผู้เชี่ยวชาญในการฉีดโบท็อกเพื่อปรับรูปหน้า ไม่ว่าจะเป็นการฉีดโบท็อกร่องแก้ม โบท็อกลดกราม และหัตถการด้านความงามอื่นๆ เพื่อใบหน้าที่เรียวสวยได้รูป อีกทั้ง Anna Clinic ยังเลือกใช้ตัวยาแท้ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอย. และดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นอกจากนี้ เรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัตถการด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม เมโสแฟต หรือยกกระชับใบหน้าด้วยเครื่องอัลเทอร่า
มั่นใจและปลอดภัยกว่า เพราะ Anna Clinic เลือกใช้ตัวยาแท้และอุปกรณ์การแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองมาตรฐานจากอย. พร้อมดูแลทุกปัญหาและให้คำปรึกษา หากสนใจฉีดโบท็อก หรือต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อ Anna Clinic ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
โทร. 063-556-2626 หรือ LINE @annaclinic
อย่าลืมติดตามเราบน Social Media เพื่อติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ๆ
Facebook: Anna Clinic
Instagram: annaclinic
TikTok: annaclinicAnna Clinic Official
YouTube: Anna Clinic Official